หลังจากที่เป็นข่าวสู่สาธารณะ ว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ไม่อนุญาตให้ใช้พลาสติกพอลิคาร์บอเนตมาทำเป็นขวดนม รวมทั้งภาชนะบรรจุนมสำหรับทารกและเด็กเล็ก
นับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2558 เป็นต้นไป แม่ๆ อาจจะดีใจว่าลูกของตนจะได้ใช้ขวดนมที่ปลอดภัยจากสารบิสฟีนอลเอ (บีพีเอ) ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการผลิตพลาสติกชนิดพอลิคาร์บอเนต แต่โปรดอย่าเพิ่งชะล่าใจ
อย. ได้ให้ข้อมูลการศึกษาในสัตว์ทดลอง ว่า สารบีพีเออาจมีผลไปขัดขวางการทำงานของฮอร์โมนเอสโทรเจนในร่างกาย ส่งผลกระทบต่อระบบการสืบพันธุ์และระบบการผลิตฮอร์โมน
เนื่องจากโครงสร้างของสารบีพีเอมีความคล้ายกับฮอร์โมนเอสโทรเจน นอกจากนี้ เด็กอายุ 0 – 3 ปี มีโอกาสได้รับสารบีพีเอสูงกว่าประชากรกลุ่มอื่น และการใช้ขวดนมที่มีส่วนประกอบของพอลิคาร์บอเนตซ้ำ ๆ
ระยะเวลาหนึ่งมีแนวโน้มปล่อยสารบีพีเอเพิ่มขึ้น

เราจะทราบได้อย่างไรว่า พลาสติกชนิดใดที่มี บีพีเอ และชนิดใดน่าจะมีความปลอดภัยในการใช้ ?

พลาสติกที่มีใช้กันมากใน ปัจจุบัน มี 7 ประเภท เราจะสังเกตได้จาก ตัวเลข 1 – 7 แสดงภายในเครื่องหมายลูกศรสามเหลี่ยม โดยมากจะด้านล่างสุดของขวดบรรจุ

พลาสติกชนิดที่มี บีพีเอ คือ หมายเลข 7

ส่วนหมายเลขอื่นๆ มีความหมายดังนี้

หมายเลข 1 คือ พีอีทีอี (พอลิเอทธิลีนเทเรฟทาเลต) เป็นพลาสติกใส ใช้บรรจุน้ำดื่ม น้ำอัดลม เครื่องดื่ม น้ำผลไม้ น้ำยาซักผ้า น้ำยาทำความสะอาด และ อาหารบางชนิด

หมายเลข 2 คือ เอชดีพีอี (พอลิเอทธิลีนความหนาแน่นสูง) เป็นพลาสติกสีทึบ ใช้บรรจุนมสด น้ำดื่ม น้ำยาฟอกขาว น้ำยาซักผ้า แชมพู ขวดยา

หมายเลข 3 คือ พีวีซี (พอลิไวนิลคลอไรด์) เป็นพลาสติกแข็งใช้ทำท่อ เช่น ท่อน้ำประปา แต่สามารถทำให้นิ่มโดยใส่สารพลาสติกไซเซอร์ ใช้ทำสายยางใส สำหรับห่อหุ้ม เชือกพลาสติก
เป็นขวดบรรจุชนิดบีบ มักจะใช้บรรจุน้ำยาเช็ดกระจก แผ่นฟิล์มสำหรับห่อ พลาสติกประเภทนี้ไม่ควรใช้บรรจุอาหาร

หมายเลข 4 คือ แอลดีพีอี (พอลิเอทธิลีนความหนาแน่นต่ำ) เป็นพลาสติกที่นิ่ม สามารถยืดตัวได้มาก มีความใส นิยมนำมาทำเป็นฟิล์มสำหรับห่ออาหารและห่อของ และที่ใช้กันมากที่สุด คือ ถุงเย็นใส่อาหาร

หมายเลข 5 คือ พีพี (พอลิโพรพิลีน) เป็นพลาสติกที่แข็ง ทนต่อแรงกระแทก ทนต่อสารเคมี ความร้อน และน้ำมัน ส่วนใหญ่นิยมนำมาทำภาชนะบรรจุอาหาร เช่น บรรจุภาชนะไซรัป โยเกิร์ต
หลอดดูด ขวดนมเด็ก ถุงร้อนใช้สำหรับบรรจุอาหารร้อน

หมายเลข 6 คือ พอลิสไตรีน เป็นพลาสติกที่แข็ง ใส แต่เปราะ และแตกง่าย นิยมนำมาทำเป็นโฟม และทำเป็นภาชนะบรรจุของใช้ เช่น กล่องใส่ของ พลาสติกประเภทนี้ไม่ควรใช้บรรจุอาหาร

หมายเลข 7 คือ พลาสติกชนิดอื่นๆที่ไม่ใช่ 6 ชนิดแรก เช่น บีพีเอ ซึ่งเป็นสารเคมีที่เรากำลังพูดถึง ที่ผ่านมามีการนำพลาสติกชนิดนี้ มาทำเป็นขวดนม ขวดน้ำ เหยือกน้ำ ถ้วย ช้อน ส้อม
มีด และใช้บุด้านในของกระป๋องโลหะสำหรับใส่อาหาร ใส่เครื่องดื่ม

เพื่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ผู้ผลิตไม่ควรใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของพลาสติกประเภท หมายเลข 3, 6 และ 7 มาบรรจุอาหาร

หากผู้บริโภคไม่ทราบว่าบรรจุภัณฑ์ทำมาจากพลาสติกชนิดใด ควรสอบถามไปยังบริษัทผู้ผลิต

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำหนดให้มีการระบุประเภทของพลาสติกที่เป็น ส่วนประกอบของบรรจุภัณฑ์ต่างๆ อย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับทราบ
เอกสารอ้างอิง

 http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9580000036806