Fast Company รายงานว่า ในแต่ละปี มนุษย์หนึ่งคนมีโอกาสใช้แชมพูราว 10 ขวด และใช้สบู่เหลว 11 ขวดในการอาบน้ำทำความสะอาดร่างกาย

 

              อย่างไรก็ดี ไม่มีอะไรรับประกันว่า ขวดบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ใช้หมดแล้วนั้นจะได้กลับเข้าสู่กระบวนรีไซเคิล โดยเฉพาะอย่างยิ่งขวดบรรจุภัณฑ์ของแบรนด์ดังที่มักผลิตอย่างปราณีตสวยงามเพื่อให้ขวดของตัวเองโดดเด่นกว่าใครบนชั้นวางสินค้า แต่ภายในของขวดเหล่านั้นย่อมมาพร้อมชิ้นส่วนพิเศษที่ต้องอาศัยการคัดแยกมากกว่าขวดบรรจุภัณฑ์ธรรมดาในการรีไซเคิล

 

             ขั้นแรก ผู้รีไซเคิลต้องทำการแยกประเภทพลาสติกก่อน เนื่องจากพลาสติกเป็นวัสดุที่มีลักษณะพิเศษคือ มีน้ำหนักและความซับซ้อนทางโครงสร้างโมเลกุลสูง ทำให้พลาสติกแต่ละชนิดไม่สามารถผสมเข้าด้วยกันได้เหมือนสสารชนิดอื่นเช่นแก้วหรือโลหะหลังจากผ่านกระบวนการแยกประเภทพลาสติกแล้ว ขยะพลาสติกจะถูกส่งเข้าโรงงานรีไซเคิล โดยกระบวนการรีไซเคิลนั้นสามารถแยกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้

ทั้งหมดนี้จึงนำไปสู่ความจริงที่ว่า มีเพียง 10% ของบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ได้กลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างจริงจัง ส่วนที่เหลือนั้นพบว่าถูกฝังกลบอยู่ตามกองขยะ หรือไม่ก็ถูกทิ้งลงในท้องทะเล และรอให้ผ่านไปหลายร้อยปีกว่าที่มันจะเสื่อมสภาพ หรือไม่ก็กลายเป็นขยะพลาสติกในท้องวาฬ และสัตว์ทะเลอื่น ๆ แบบที่ปรากฏเป็นข่าว

แต่โลกกำลังจะมีโซลูชันใหม่ เมื่อ Jonna Breitenhuber นักศึกษาปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเบอร์ลินได้มีการพัฒนาขวดบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจาก “สบู่” ในชื่อ SOAPBOTTLE ซึ่งภายในออกแบบให้เป็นโพรง สามารถใส่แชมพู หรือสบู่เหลวได้

นอกจากนั้น ยังมีการทำให้ตัวสบู่ไม่ละลายเมื่อเจอกับของเหลวภายใน ส่วนด้านนอกของ SOAPBOTTLE ก็ไม่ต่างอะไรกับสบู่ก้อนแข็ง ที่มาพร้อมฝาปิดจากโลหะ สำหรับเทแชมพูออกมาด้วย

ส่วนใครที่เกรงว่าสบู่จะทำให้ลื่นมือ ก็สามารถนำเชือกมาห้อยเอาไว้ได้เช่นกัน

Breitenhuber บอกว่า ถ้าสบู่ข้างในหมดแล้ว ก็ยังสามารถใช้สบู่ข้างนอกล้างมือต่อไปได้ ซึ่งงานวิจัยนี้ น่าจะทำให้ผู้บริโภคสบายใจได้มากขึ้น เพราะต่อให้ใช้สบู่จนหมด เราก็ไม่เหลืออะไรทิ้งเป็นขยะต่อโลกแน่นอน

อ้างอิงที่มา  :  https://www.brandbuffet.in.th/2019/12/soapbottle-project-from-university-of-berlin/