ด้วยปัญหาพลาสติกที่เพิ่มขึ้นทุกวัน นักวิทยาศาสตร์จึงพยายามที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ นี่เป็นอีกหนึ่งวิธีที่พวกเขาค้นพบ จอช กูบิทซ์ และทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยทรัพยากรธรรมชาติและวิทยาศาตร์เพื่อชีวิตของกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรียได้พบว่า “พลาสติกทั่วไปเช่น ถุงพลาสติก ขวด และบรรจุภัณฑ์อาหาร” อาจถูกย่อยสลายได้เมื่อสัมผัสกับจุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมนของวัวอัลไพน์ที่เลี้ยงบนทุ่งหญ้าเทือกเขาแอลป์

             พวกเขาทดสอบพลาสติก 3 ประเภท ได้แก่ โพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต หรือรู้จักในชื่อ PET ที่นิยมใช้เป็นผลิตขวดบรรจุเครื่องดื่ม โพลิบิวทิลีนอะดิเพทเทเรฟทาเลต (PBAT นิยมใช้ห่ออาหารหรือสินค้า) และโพลิเอทิลีนฟูราโนเอต (PEF นิยมใช้เป็นบรรรจุภัณฑ์อาหาร) โดยบ่มพลาสติกกับจุลินทรัย์ในห้องปฏิบัติการ และพบว่าสามารถย่อยพลาสติกได้เมื่อเวลาผ่านไปหลายชั่วโมง และอาจทำลายพลาสติกบางประเภทได้ทั้งหมดเมื่ออยู่ในสภาวะที่เหมาะสม

พวกเขาเชื่อว่าเอนไซม์และจุลินทรีย์ที่อยู่ในกระเพาะรูเมน (กระเพาะแรกสุดของสัตว์เคี้ยวเอื้อง มีหน้าที่พักและหมักย่อยอาหาร) สามารถย่อยพลาสติกได้เนื่องจากพวกมันวิวัฒนาการมาเพื่อย่อยสลายโครงสร้างทางชีวโมเลกุลที่มีขนาดใหญ่และซับซ้อนเช่น พืช

“มันค่อนข้างมีประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับเอนไซม์อื่น ๆ ที่ทดสอบในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา” กูบิทซ์กล่าว อย่างไรก็ตาม ทีมวิจัยยังจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเรื่องปฏิสัมพันธ์ระหว่างจุลินทรีย์และพลาสติกต่อไป

เขากล่าวว่า ในขั้นต้นพวกเราสามารถเก็บน้ำย่อยจากกระเพาะวัวได้จากอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ แต่ในอนาคต เนื่องจากเรื่องจริยธรรมการทดลอง เราต้องปรับปรุงและผลิตสารประกอบที่มีคุณสมบัติเหมือนหรือใกล้เคียงกับน้ำย่อยในกระเพาะวัว ซึ่งต้องอาศัยขั้นตอนทางพันธุวิศวกรรม

“พลาสติกทั่วไปส่วนใหญ่มีความทนทานต่อการย่อยสลายทางชีวภาพ เพราะเราต้องการความคงทนต่อการใช้งาน” ริชาร์ด ซี. ทอมป์สัน หัวหน้าหน่วยวิจัยขยะทะเลนานาชาติ มหาวิทยาลัยไพล์เมาท์ ประเทศอังกฤษ กล่าว การค้นพบครั้งนี้เป็นการค้นพบที่สำคัญที่จะช่วยย่อยสลายพลาสติกที่ยากต่อการรีไซเคิลได้ และลดปัญหาขยะพลาสติกที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างมากทุก ๆ วัน

อย่าไรก็ตามแม้จะมีการค้นพบนี้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณควรให้อาหารพลาสติกแก่วัวหรือทิ้งขยะพลาสติกที่อาจไปอยู่ในท้องของสัตว์ เราควรลด ใช้ซ้ำ และรีไซเคิลพวกมันแทน นอกจากพลาสติกแล้ว Trash Lucky ยังรับกระดาษ แก้ว และโลหะ รีไซเคิลด้วย Trash Lucky แล้วลุ้นรับรางวัลเหรียญทอง! ติดตามเราบนหน้า Facebook Page, Instagram: gotrashlucky หรือแอด LINE ID: @trashlucky

ที่มา
Frontier Sin
CNN
The Guardian
New Scientist
Live Science

https://trashlucky.com/plastic-eating-gut-microbe/

Photo Credit:
Science Photo
Wikipedia Commons