สืบเนื่องจากตอนที่ 1 เรื่องการแยกชนิดน้ำแร่ ในตอนที่ 2 จะกล่าวถึงสรรพคุณของน้ำแร่ และข้อควรระวังในการบริโภค

สรรพคุณของน้ำแร่
น้ำแร่แต่ละชนิดมีสรรพคุณต่างกัน โดยตัวสรรพคุณนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของแร่ธาตุซึ่งสามารถจัดได้ดังนี้
1.น้ำแร่ไบคาร์บอเนต มีสรรพคุณช่วยปรับให้สารคัดหลั่งที่มีฤทธิ์เป็นกรดกลายเป็นกลาง, กระตุ้นการเคลื่อนของอาหารจากกระเพาะไปยังลำไส้เล็กให้เร็วขึ้น, กระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมนในกระเพาะอาหารและช่วยเพิ่มปริมาณน้ำและเกลือแร่ให้แก่ร่างกาย ดังนั้นก่อนออกกำลังกายหรือทำงานที่ต้องเสียเหงื่อ จึงควรดื่มน้ำแร่ชนิดนี้ปริมาณ 500-700 มิลลิลิตร เพื่อช่วยในการลดภาวะเลือดเป็นกรด
ตัวอย่างของน้ำแร่ชนิดนี้ได้แก่ น้ำแร่ยี่ห้อ Volvic, Fiji, Snowy mountain เป็นต้น
2.น้ำแร่ซัลเฟต มีสรรพคุณช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ โดยเฉพาะในคนที่ท้องผู้กเรื้อรัง เนื่องจาก น้ำแร่ซัลเฟต มีผลแรงดันออสโมติคและ ช่วยกระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมนซีซีเค (CCK) เนื่องจากซัลเฟตมีผลต่อระบบต่อมไร้ท่อ
ตัวอย่างของน้ำแร่ชนิดนี้ได้แก่ น้ำแร่ยี่ห้อ Pi water เป็นต้น
3.น้ำแร่ซัลเฟต-ไบคาร์บอเนต ใช้รักษาภาวะที่การทำงานของถุงน้ำดีผิดปกติ, นิ่วในถุงน้ำดี, อาการหลังผ่าตัดถุงน้ำดี
4.น้ำแร่ซัลเฟอร์, เกลือ-ไอโอดีน, เกลือ-โบรมีน-ไอโอดีน มักใช้กับอวัยวะภายนอกร่างกาย เช่น การอาบ หรืออาจใช้ สูดพ่นทางทางเดินหายใจบ้าง บรรเทาอาการอักเสบของระบบสืบพันธุ์เพศหญิง และบรรเทาอาการทางผิวหนังบางชนิด
5.น้ำแร่ซัลเฟอร์และไบคาร์บอเนต ใช้ในการรักษาโรคเบาหวาน โดยจะลดระดับน้ำตาล อาการกระหายน้ำ ปัสสาวะบ่อย และช่วยลดความต้องการอินซูลิน นอกจากนี้น้ำแร่ไบคาร์บอเนต ยังช่วยลดภาวะเลือดเป็นกรดในผู้ป่วยเบาหวานได้
6.น้ำแร่คลอรีน (น้ำเกลือ) มีสรรพคุณช่วยในการกระตุ้นการทำงานของลำไส้และการหลั่งสารที่เกี่ยวข้องกับน้ำและอิเล็กโตรไลท์, กระตุ้นการหลั่งน้ำดี, บรรเทาอาการท้องผูก
7.น้ำแร่แคลเซียม เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่มีความต้องการแคลเซียมในปริมาณมากกว่าคนปกติ เช่น เด็ก หญิงตั้งครรภ์ สตรีวัยหมดประจำเดือน ผู้สูงอายุ และจากการวิจัยไม่นานมานี้ พบว่า แคลเซียมอาจช่วยป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงได้อีกด้วย
ตัวอย่างของน้ำแร่ชนิดนี้ได้แก่ น้ำแร่ยี่ห้อ Evian, Badoit เป็นต้น
8.น้ำแร่แมกนีเซียม มีสรรพคุณช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำดี เนื่องจากมีผลในการทำให้ Oddi sphincter คลายตัว
9.น้ำแร่ฟลูออเรด ใช้ในการป้องกันฟันผุ
10.น้ำแร่เหล็ก มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการในภาวะโลหิตจากที่เกิดจากการขาดธาตุเหล็ก และใช้ในภาวะไฮโปธัยรอยด์
11.น้ำแร่โซเดียม มีสรรพคุณกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท เหมาะสำหรับผู้ที่สูญเสียเกลือแร่เนื่องจากการเล่นกีฬาหรือการทำงานหนัก
12.น้ำแร่เกลือต่ำ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมปริมาณโซเดียมในกระแสเลือด

13.น้ำแร่คาร์บอร์นิค มักใช้ในการอาบ และบรรเทาอาการของหลอดเลือดส่วนปลาย

วิธีดื่มน้ำแร่ ควรทำอย่างไร?
วิธีดื่มน้ำแร่แบ่งได้ 2 วิธี คือ
1.การดื่มน้ำแร่ปริมาณมากในระยะเวลาสั้นๆ (Water loading)คือ การดื่มน้ำปริมาณ 1 ลิตร ภายใน 30 นาที ขณะท้องว่าง ซึ่งการดื่มน้ำแร่วิธีนี้จะใช้กับน้ำแร่ชนิดที่หวังผล
เช่น เพื่อขับนิ่วออกจากร่างกาย วิธีนี้ไม่ควรดื่มก่อนนอน เนื่องจากจะทำให้ต้องลุกขึ้นมาเข้าห้องน้ำในช่วงกลางคืน
2.การดื่มแบบทยอยในปริมาณไม่สูง (Subdivided doses)คือ การดื่มน้ำแร่ปริมาณ 500 มิลลิลิตร และ ตามด้วยน้ำแร่ 10 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
โดยจิบน้ำครั้งละน้อยขณะอ่อนเพลีย หรือขณะเดิน หรือพร้อมมื้ออาหาร สำหรับนักกีฬา ควรดื่มน้ำแร่ที่มีปริมาณเกลือแร่น้อยถึงปานกลาง ตลอด 2 ชั่วโมงก่อนการแข่งขัน
โดยดื่ม 100-150 มิลลิลิตร ทุก 15-20 นาที และดื่ม 400-500 มิลลิลิตร 15 นาทีสุดท้ายของชั่วโมงที่ 2 หลังการอบอุ่นร่างกาย ระหว่างการแข่งขัน ควรดื่ม 200-250 มิลลิลิตร
ทุก 15-20 นาที โดยปริมาณของเหลวที่ดื่มเข้าร่างกายหลังแข่งขันหรือเล่นกีฬานั้น ควรมีปริมาณร้อยละ 150 ของน้ำหนักตัว ซึ่งปริมาณของเหลวที่บริโภคโดยทั่วไป คือ 50 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน

ใครไม่ควรดื่มน้ำแร่?
ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้ประโยชน์จากน้ำแร่ หากดื่มไปโดยไม่ระวังอาจเป็นผลเสียต่อร่างกายได้ แล้วใครกัน…ที่ไม่ควรดื่มน้ำแร่?
1.ผู้ที่บวมน้ำ ผู้ป่วยโรคไต ผู้ที่มีการทำงานของหัวใจไม่ดีไม่ควรดื่มน้ำแร่ทุกชนิด
2.ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงไม่ควรดื่มน้ำแร่ที่มีปริมาณโซเดียมสูง
3.ผู้ที่มีการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารปริมาณมาก แผลในกระเพาะอาหารและความดันโลหิตสูง ไม่ควรดื่มน้ำแร่เกลือโซเดียมคลอไรด์
4.ผู้ป่วยที่มีโรคทางระบบทางเดินหายใจที่มีภาวะหลอดลมหดเกร็ง ไม่ควรดื่มน้ำแร่ซัลเฟอร์
5.ผู้ป่วยที่มีภาวะ gastric hypochilia ไม่ควรดื่มน้ำแร่ไบคาร์บอเนต
6.ผู้ป่วยที่มีโรคที่เกี่ยวกับทางเดินอาหารและมีแผลในทางเดินอาหาร น้ำแร่ซัลเฟต

นอกจากนี้ก่อนบริโภคน้ำแร่ ให้คำนึงถึงปริมาณสารอาหารที่เราบริโภคผ่านทางอาหารแต่ละมื้อด้วย เนื่องจากในอาหารแต่ละมื้อมีสารอาหารรวมทั้งเกลือแร่อยู่ ซึ่งถ้าบริโภคน้ำแร่เพิ่ม
อาจส่งผลให้มีปริมาณแร่ธาตุสูงจนอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายได้

เอกสารอ้างอิง
1.http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id=20
2.http://www.thairath.co.th/content/edu/342657